การทำเลสิกกับการสลายต้อกระจก ต่างกันยังไง?

เลสิก สลายต้อกระจก

คนส่วนใหญ่ยังคงสับสน และ มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีการรักษาระหว่าง “การทำเลสิก” กับ “การสลายต้อกระจก” วันนี้ทาง First Clinic จะพามาดูกันค่ะ ว่า 2 อย่างนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร

เลสิก หรือ การผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์ (รวมไปถึง PRK, Femto LASIK และ ReLEx SMILE) เป็นการใช้เลเซอร์เจียระในกระจกตาด้านหน้าสุด เพื่อปรับความโค้งของกระจกตา ให้การหักเหของแสงตกกระทบพอดีที่จุดรับภาพ เพื่อลดการใส่แว่น หรือ คอนแทคเลนส์สำหรับคนที่มีสายตาสั้น ยาว เอียง

เลสิก คือ

สลายต้อกระจก เป็นการรักษาคนไข้ที่มีเลนส์แก้วตาขุ่น (เปรียบเหมือนกระจกที่เราใช้ไปนาน ๆ จนขุ่น เช็ดยังไงก็ไม่สะอาด หากต้องการให้กลับมาใสอีกครั้ง ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนด้วยกระจกที่ใสกว่า) การรักษาทำได้โดยการเจาะเข้าไปในดวงตาแล้วใช้อุปกรณ์สลายต้อออก จากนั้นนำเลนส์ใสตัวใหม่เข้าไปวางในตำแหน่งเดิม โดยเลนส์ที่ใส่เข้าไปจะมีการวัดเพื่อให้พอดีกับค่าสายตาของผู้ป่วย

ต้อกระจก

จากที่หมออธิบายข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ถ้าคนไข้มีต้อกระจก ต้องแก้ไขสาเหตุข้างในตา คือ ต้องเอากระจกที่ขุ่นออกถึงจะหาย การทำเลสิกเป็นการแก้ไขที่กระจกตา ดังนั้น หากคนไข้ยังไม่มีต้อกระจก แล้วไม่อยากใส่แว่น หรือ คอนแทคเลนส์แล้วก็สามารถทำเลสิกได้ แต่ถ้าหากเป็นต้อกระจกแล้ว ก็ต้องรักษาด้วยการสลายต้อกระจกค่ะ

ถึงแม้ว่าทั้งสองจะเป็นการผ่าตัดที่แตกต่างกัน แต่จุดประสงค์หลักก็คือ พัฒนาคุณภาพการมองเห็นของคนไข้

สรุป

ตามหลักการทำเลสิก จะเหมาะกับคนที่มีอายุในช่วง 18 – 55 ปี และ มีค่าสายตาที่ค่อนข้างคงที่ ถ้าอายุต่ำกว่า 18  ปี อาจจะเป็นช่วงวัยกำลังโตค่ะ มีการพัฒนาของร่างกายอยู่ ทำให้ค่าสายตายังไม่คงที่

ต้อกระจก (Cataract) คนไข้มักจะมีปัญหาในช่วงอายุหลังจาก 55 ปี  อาจจะต้องตรวจประเมินโดยจักษุแพทย์ก่อน ว่าสามารถรักษาค่าสายตาด้วยการทำเลสิกได้ไหม

ขอบพระคุณค่ะ

พ.ญ.ชญาตา เหลี่ยมศิริเจริญ (หมอกระแต)
จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตา และ การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ

First Clinic ฟิลเลอร์รอบดวงตา โดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ