ปวดหลัง เมื่อยตามตัว ออฟฟิศซินโดรม โบท็อกช่วยได้จริงหรอ!?

โบท็อก ออฟฟิศซินโดรม

ปวดหลัง ปัญหากวนใจชาวออฟฟิศ … ขึ้นชื่อว่ามนุษย์เงินเดือน ไม่มีใครไม่รู้จักโรค “office syndrome” ซึ่งเป็นโรคที่มักเกิดกับกลุ่มคนที่ทำงานหนักหรืออยู่ในท่าเดิมต่อเนื่องนานกว่า 8 ชั่วโมง รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น คนบ้างาน (Workaholic) เร่งรีบ ความเครียด การอดอาหาร การอดนอน เป็นต้น

ปัจจัยเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว โดยโรคออฟฟิศซินโดรม สามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้  เช่น ปวดหลังเรื้อรัง ปวดคอ บ่า ไหล่ อาการไมเกรน หรือ ปวดศีรษะเรื้อรัง โรคเหน็บชาที่มือ เอ็นอักเสบ และนิ้วล็อก บางคนนั่งทำงานนาน หรือ ทำพฤติกรรมเดิมซ้ำ ๆ จนเกิดอาการรองช้ำ หรือ กระดูกสันหลังคดเลยก็มี

นอกจากการ แก้ปวดหลัง คอบ่าไหล่ โดยการไคโรแพรคติก (Chiropractic) ที่เป็นการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ และข้อต่อ และต้องการรักษาอย่างรวดเร็ว สามารถติดตามได้ที่บทความนี้ได้เลยค่ะ

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากการใช้สะบักอย่างต่อเนื่อง และ นานเกินไป จนเกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณจุดกระตุ้น หากเพิกเฉย อาการเหล่านี้อาจเลวร้ายลงจนทำให้เกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้

มีวิธีการรักษาที่หลากหลาย เช่น การรักษาด้วยยา การฟื้นฟู การฉีดโบทูลินั่มท็อกซิน (Botulinum Toxin) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาใหม่ล่าสุดสำหรับการรักษาระยะเริ่มต้นของอาการออฟฟิศซินโดรม

ปัจจุบันอาการปวดกล้ามเนื้อไมโอฟาเซียล (Myofascial Pain Syndrome) กลายเป็นเรื่องธรรมดามาก เนื่องจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ซ้ำ ๆ คนนั่งทำงานแทบจะไม่เดิน ยืน หรือแม้แต่เคลื่อนไหว นอกจากนี้ ในขณะที่เราใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อส่งข้อความหรืออื่น ๆ ศีรษะของเราจะเอียงไปข้างหน้า และ ไหล่โค้งลง

ส่งผลให้เราเกิดอาการปวดหลังและคอ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “Text Neck” อาการปวดคออาจทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ คอ และไหล่ได้

อาการปวดกล้ามเนื้อไมโอฟาเซียล (Myofascial Pain Syndrome)  สามารถบรรเทาได้ชั่วคราวด้วยการนวด อย่างไรก็ตาม หากท่าทางไม่ถูกวิธี ท่านั้นจะกลายเป็นเรื้อรังและเป็นอันตรายต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูกของคุณ

นอกจากนี้ อาการปวดกล้ามเนื้อไมโอฟาเซียลยังสัมพันธ์อย่างมากกับไมเกรน หากคุณมีอาการไมเกรนรุนแรง การรักษาอาการปวดไมเกรนร่วมกับยาป้องกันไมเกรนเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

5 วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรมมีสาเหตุหลักมาจากการทำงานนั่งโต๊ะ การนั่งเป็นเวลานาน ๆ ผิดท่า จะทำให้ร่างกายและกล้ามเนื้อเกิดความเครียดได้ อย่างไรก็ตาม ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเล็กน้อย ที่สามารถช่วยให้ป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมได้

1.คอมอยู่ในระดับที่เหมาะสม

คอมอยู่ในระดับที่เหมาะสม

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์และความสูงของดวงตาของคุณอยู่ในระดับเดียวกัน เพราะจะทำให้ ส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อคอ บ่า และไหล่  เพราะว่าน้ำหนักที่จะตกลงบนกระดูกสันหลังคอจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ถ้าก้มจนหน้าชิดกับคอ หรือประมาณมุมที่ 60 องศา กระดูกสันหลังคอจะรองรับน้ำหนักถึง 27 กิโลกรัม หากเราต้องก้มหน้าทำงานแบบนี้เป็นประจำทุกวัน กล้ามเนื้อคอก็อาจจะได้รับการบาดเจ็บซ้ำ ๆ จนทำให้เกิดอาการปวดคอ ร้าวมาบ่า และไหล่

การที่จอคอมอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสายตาและสรีระ จะทำให้คอไม่เงยหรือไม่ก้มจนเกินไป ช่วยลดอาการปวดหัวและป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้ค่ะ

2.ไม่ควรยกไหล่ขณะพิมพ์งาน

ไม่ควรยกไหล่ขณะพิมพ์งาน ออฟฟิศซินโดรม

เหตุผลที่ไม่ควรยกไหล่ขณะพิมพ์งาน เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณไหล่จะทำงานหนักมากขึ้ ทำให้ปวดหลังบริเวณสะบักร้าวมาที่ต้นคอ หน้านั่งที่ถูกคือ ผ่อนไหล่ทั้งสองข้างลงสบายๆข้างลำตัว

โดยที่คีย์บอร์ดหรือโต๊ะอยู่ระนาบเดียวกันกับข้อศอกเพื่อจะได้ไม่ต้องยกไหล่ขึ้นเวลาจะพิมพ์คีย์บอร์ด หากปรับระดับให้โต๊ะหรือคีย์บอร์ดเตี้ยลงไม่ได้ ก็ปรับระดับเก้าอี้ให้สูงขึ้นแทน

นอกจากจะช่วยให้ไม่เมื่อยในขณะทำงาน ยังลดความเสี่ยงในการเป็นออฟฟิศซินโดรมด้วยค่ะ

3.หาที่วางข้อมือ

หาที่วางข้อมือ ออฟฟิศซินโดรม

เมื่อเรามีการกระดกข้อมือเป็นเวลานาน ๆ ก็จะทำให้มีการกดทับต่อตัวเส้นประสาท (Median nerve) ที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อมือ ส่งผลให้เกิดการปวด ชาและกล้ามเนื้อลีบตามมาได้

ดังนั้นการมีที่วางข้อมือจะช่วยให้ข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และลดอาการปวดข้อมือหากต้องทำงานนานๆได้ค่ะ

4. ปรับพนักพิง 100-110 องศา

ปรับพนักพิง-100-110-องศา ออฟฟิศซินโดรม

เนื่องจากการปรับพนักพิงในองศาดังกล่าวจะทำให้เกิด แรงดันที่กระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลังจะน้อยที่สุด ช่วยลดแรงกดที่กระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลังจะช่วยรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังไม่ให้รับน้ำหนักมากเกินไป

ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะถ้าทำพฤติกรรมดังกล่าวบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การป้องกันตั้งแต่เริ่มจะช่วยให้ป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวได้ค่ะ

5. ปรับความสูงเก้าอี้

ปรับความสูงเก้าอี้ ออฟฟิศซินโดรม

ในบางครั้งการเลือกเก้าอี้ก็ควรต้องเข้าคู่กับโต๊ะ  แต่ถ้าหากเราเลือกโต๊ะทำงานในออฟฟิศเองไม่ได้ อย่างน้อยถ้าเก้าอี้ปรับระดับความสูงได้ก็จะช่วยทำให้ตัวเราอยู่ระดับเดียวกับโต๊ะ

ทำให้ไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ขณะนั่งทำงาน หรือในกรณีที่เก้าอี้ไม่สามารถปรับระดับความสูงได้ นะนำให้หาเบาะรองนั่งหรือหมอนที่พอเอามารองแล้วสามารถทำให้ตัวเราอยู่ระดับเดียวกับโต๊ะได้ ก็เป็นการแก้ไขปัญหาที่ง่าย และ ประหยัดด้วยค่ะ

โบท็อกซ์คืออะไร

Botulinum Toxin หรือ โบท็อกซ์ คือ สารตัวหนึ่งที่มีฤทธิ์ในการ จับกับปลายเส้นประสาทที่มาควบคุมกล้ามเนื้อ แล้วไปยับยั้งการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทบริเวณนั้นทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว หดตัวไม่ได้และอยู่ในสภาพคลายตัวในที่สุด

เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวในระยะเวลาที่จำกัด มักใช้เพื่อทำให้ริ้วรอยบนใบหน้าเรียบขึ้น และ ยังใช้รักษาอาการกระตุกของคอ อาการเหงื่อออกง่าย กระเพาะปัสสาวะไวเกิน โดยฉีดที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ 20-30 จุดเพื่อกระจายยาให้ทั่วทั้งกระเพาะปัสสาวะ รักษาอาการตาขี้เกียจ และ อาการอื่น ๆ 

โบท็อก

ยาในการฉีดโบท็อกซ์ทำมาจาก โบทูลิซึม แต่รูปแบบของโบทูลินั่มท็อกซินบริสุทธิ์ที่ใช้โดยผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่ได้รับอนุญาตเป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมทางการแพทย์ 

มาตรฐานเหล่านี้ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ตามกฎแล้วสารพิษจากแบคทีเรียที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์จะไม่เป็นอันตรายหากใช้อย่างถูกต้อง

โบท็อกซ์ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

การฉีดโบทูลินั่มท็อกซิน (Botulinum Toxin) เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม

โดยลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณจุดกระตุ้นซึ่งเป็นต้นตอของอาการปวดเรื้อรัง อีกทั้งก้อนเนื้อบริเวณนั้นจะเล็กลงและได้รูปคอที่สมดุลกับรูปหน้าอย่างสวยงาม

โดยวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรมแต่ละรายแพทย์จะเป็นผู้เลือกตามความรุนแรงของโรค บางครั้งแพทย์อาจเริ่มด้วยการฉีดน้ำเกลือเพื่อคลายกล้ามเนื้อ แต่หากไม่ได้ผล

แพทย์จะพิจารณาใช้วิธีฉีด Botulinum Toxin ซึ่งผลจะอยู่ได้นาน 4 – 6 เดือน การปรับตัวและการใช้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้นแพทย์จะวินิจฉัย และ ประเมินอาการของผู้ป่วยแต่ละรายก่อนเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมค่ะ

ฉีดโบท็อกซ์ออฟฟิศซินโดรมตรงไหน

ฉีดโบท็อกออฟซินซินโดรมตรงไหน

การฉีดโบท็อกซ์ส่วนมากคุณหมอจะประเมินเป็นรายบุคคลค่ะว่าควรฉีดตำแหน่งตรงไหนบ้าง ส่วนมากจะฉีดบริเวณคอ บ่า ไหล่ และ กล้ามเนื้อบริเวณหลังค่ะ แอดมินแนะนำเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อความแม่นยำในการรักษานะคะ

กายบริหารแก้ออฟฟิศซินโดรม

กายบริหารแก้ออฟฟิศซิโดรม

1.ทำมือประสานกันข้างหน้า แล้วดันยืดออกไปจนสุด ดันค้างไว้ 10-20 วินาที ทำ 2 ครั้ง จะยืดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนที่มักจะตึงเวลาทำงานนาน ๆ ทำบ่อย ๆ ได้เลยค่ะท่านี้ ผ่อนคลายสบายมาก

2.มือประสานกันเหนือหัว เหยียดขึ้นจนสุดค้างไว้ 10-20 วินาที ทำ 2 ครั้ง จะได้คลายกล้ามเนื้อหลังส่วนตื้นและ ต้นแขนไปพร้อมกัน

3.ดันหลังส่วนล่าง ยืดออกแอ่นตัวไปข้างหลัง ค้างไว้ 20 วินาที ท่านี้จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและอก ที่มักจะเกร็งในคนนั่งทำงานออฟฟิตนาน ๆ

4.ไขว้ห้างมือดันที่เข่า แล้วบิดตัวไปด้านตรงข้ามให้ได้มากที่สุด ขณะบิดตัวมือที่ดันเข่าก็ดันเพิ่มเพื่อให้ยืดได้ดีที่สุด ค้างไว้ 20 วินาที ทำสองข้าง ท่านี้จะผ่อนคลายกล้ามเนื้อข้างลำตัวและสะโพกได้ดีมากค่ะ

5.หลังจากนั้นท่าสุดท้าย ทำโดยการเอามือไขว้หลังจับข้อมือไว้ ก้มหน้าลงหลังจากนั้นเอียงคอไปด้านขวา พร้อมกับดึงมือซ้ายไปทางขวาตามรูปค้างไว้ 10 วินาที ทำสลับข้างกันข้างละ 2 ครั้ง ได้คลายกล้ามเนื้อ คอบ่า ไหล่

ผลลัพธ์อยู่ได้นานแค่ไหน

ข้อดีอย่างหนึ่งของโบท็อกซ์คือใช้เวลาพักฟื้นน้อยหรือไม่มีเลย และ คนส่วนใหญ่รู้สึกดีและสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ทันที โดยผลการรักษาอยู่ได้ประมาณ 4-6 เดือน และ สามารถกลับมาทำซ้ำได้ค่ะ

สรุปปวดกล้ามเนื้อ ออฟฟิศซินโดรม โบท็อกช่วยได้

สำหรับใครที่มีปัญหาปวดคอ บ่า ไหล่ ลองทำกายบริหารตามที่แนะนำกันดูก่อนนะคะ ถ้าไม่ไหวจริง ๆ แล้ว บวกกับไม่มีเวลาพักฟื้น

แอดมินแนะนำการฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรมเลยค่ แต่อย่างไรก็ตามควรเข้ามาปรึกษาคุณหมอก่อนนะคะ

หากใครสนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และโปรโมชั่นเด็ดๆ จากแอดมินได้ที่ Line : @firstclinic ได้เลยค่ะ ยังไงการดูแลตัวเองก็สำคัญ อย่าลืมดูแลสุขภาพและ อย่าลืมลุกขึ้นเดินไปมาระหว่างการทำงานด้วยนะคะ

ขอบพระคุณครับ

นพ. ลัทธพล ม้าลายทอง (หมอเฟิสท์)
จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านกระจกตาและแก้ไขสายตา

First Clinic ฟิลเลอร์รอบดวงตา โดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ